วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

ทำความรู้จัก 4 สายพันธุ์ “แฮกเกอร์” ตัวป่วนแห่งวงการไซเบอร์!


แต่ตอนนี้เรามาทำความรู้จัก Hacker กันก่อนดีกว่า แฮกเกอร์นั้นแค่ได้ยินเราก็จะจินตนาการถึงการล้วงข้อมูล หรือ ก่อกวนระบบ เป็นพวกไม่ดีไปเสียแล้ว แต่ความจริงนั้น แฮกเกอร์แบ่งออกได้หลายประเภท และการแบ่งที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก มีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้

แฮกเกอร์หมวกขาว (White Hat Hacker)

แฮกเกอร์สายคุณธรรม หรือจะเรียกว่า สายพระเอกคนดีก็ได้ มีความเชี่ยวชาญในการเจาะระบบ เพื่อหาจุดอ่อนและวางระบบป้องกัน ซึ่งส่วนใหญ่แฮกเกอร์สายนี้จะถูกว่าจ้างโดยบริษัท หรือหน่วยงานของรัฐบาล แฮกเกอร์หมวกขาวที่ดังๆ ก็คือ Tsutomu Shimomura ผู้ที่เคยร่วมมือกับ FBI ไล่จับสุดยอดแฮกเกอร์ของโลกมาแล้ว แถมยังเขียนหนังสือชื่อ TakeDown ก่อนจะถูกนำไปทำเป็นหนังอีกด้วย

แฮกเกอร์หมวกดำ (Black Hat Hacker)

แฮกเกอร์สายมืดหม่นที่คอยเจาะระบบอย่างผิดกฎหมาย พร้อมกับสร้างความเสียหายให้เกิดในระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ เรียกว่าพยายามทำทุกวิถีทางให้ระบบพังพินาศ ทั้งแบบทำเพื่อเงิน และทำเล่นสนุกๆ แฮกเกอร์ตัวแสบๆ ในสายนี้มีมากมาย แต่เราขอยกให้ Robert Tappan Morris คนแรกที่สร้างเวิร์ม (Worm) ขึ้นมาป่วนระบบ โดย MorrisWorm ของเขาได้ทำลายคอมพิวเตอร์ไปมากกว่า 6,000 เครื่องทั่วโลก

แฮกเกอร์หมวกเทา (Gray Hat Hacker)

แฮกเกอร์ที่อยู่ระหว่างการจะเป็นคนดีหรือคนร้าย ราวกับว่ายังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกเป็นแฮกเกอร์สายไหน ส่วนมากจะทดลองเจาะระบบข้อมูลต่างๆ จากนั้นก็เอาข้อบกพร่องที่พบไปโพสต์ออนไลน์ แล้วก็ปล่อยให้เจ้าของเว็บหรือโปรแกรมเมอร์หาวิธีป้องกันพวกหมวกดำกันเอาเอง Adian Lamo   หมอนี่เป็นแฮกเกอร์สายเทาที่เคยเจาะข้อมูลของ The New York Times, Yahoo และ Microsoft มาแล้ว

แครกเกอร์ (Cracker)

เหมือนกับชื่อเรียกขนมเลยนะครับ ฮ่าๆๆ ว่ากันว่าเป็นคำที่แฮกเกอร์สายขาว ตั้งขึ้นมาเพื่อเอาไว้เรียกพวกสายดำโดยเฉพาะ แต่ก็เป็นคำที่ไม่ได้รับความนิยม เพราะหลายๆ คนยังคงเรียก Black Hat เหมือนเดิม ส่วนล่าสุดก็มี แฮกเกอร์หมวกเหลือง (Yellow Hat Hacker) เพิ่มขึ้นมา ซึ่งแทนค่าของทองหรือเงินตรา กล่าวให้ชัดคือแฮกเกอร์ประเภทนี้ยอมทำทุกอย่างเพื่อแลกกับเงิน แต่คิดว่าคงเป็นคำที่มาแล้วก็หายไป ในเมื่อแฮกเกอร์ทั้ง 3 ประเภทข้างต้นนั้นครอบคลุมและอธิบายภาพชัดๆ เอาไว้ได้ดีอยู่แล้ว แถมหนึ่งในเป้าหมายหลักๆ ของบรรดาแฮกเกอร์หมวกดำทั้งหลาย ก็คือเงินทองเหมือนๆ กัน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น